www.sleepgroup.com
Sleep Group หน้าแรก กระดานถาม-ตอบปัญหานอนกรน สอบถาม... ปัญหานอนกรน แนะนำทีมงานแพทย์ พบแพทย์  
-A +A
 
 Search
 
Change Language

ข้อควรรู้ก่อนการตัดสินใจ
เลือกรักษาโดยการผ่าตัด

 

o   ผู้ป่วยนอนกรนชนิดไม่อันตราย มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดหรือไม่ ให้มีเสียงกรน
 
o   ผู้ป่วยนอนกรนชนิดอันตราย หรือที่เรียกว่า ภาวะหยุดหายใจ 
จากทางเดินหายใจอุดตันขณะนอนหลับ (Obstructive sleep apnea หรือ OSA)
มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดหรือไม่ให้มีการหยุดหายใจ
เป็นอันดับแรกและสำคัญที่สุด ไม่ใช่เพียงแค่รักษา
อาการนอนกรนเสียงดังเท่านั้น
(เปรียบเสมือนการรักษาภาวะ
ปวดหัวจากโรคความดันโลหิตสูง แพทย์ต้องรักษาให้ความดัน
โลหิตลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ใช่เพียงแค่รักษาอาการปวด
หัวเท่านั้น)

-  ควรได้รับ การตรวจการนอนหลับ (Sleep test) เพื่อยืนยันว่า
ท่านเป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด

มีข้อบ่งชี้ที่เหมาะสม คือ มีการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
(Apnea-hypopnea index หรือ AHI) มากกว่า 30 ครั้ง/ชั่วโมง

หรือ ถ้า AHI = 5-30 ครั้ง/ชั่วโมง ต้องมีปัจจัยอื่นๆ เช่น เป็นโรค
ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือมีภาวะ
ง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวัน

ควรได้รับ คำแนะนำเรื่องการรักษาวิธีไม่ผ่าตัด โดยใช้เครื่อง
ช่วยหายใจ (CPAP) เนื่องจากเป็นวิธีที่ทั่วโลก ถือว่าเป็นวิธีที่
ได้ผลดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด ไม่เจ็บ แต่ต้องใช้เครื่องดังกล่าว
ทุกคืน ตลอดไป
ถ้าได้ทดลองอย่างเต็มที่แล้วไม่ได้ผล หรือไม่
สะดวก หรือมีปัจจัยต่างๆ เช่น ไม่มีเงินซื้อเครื่อง การผ่าตัดจึง
นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผลดี ถ้าได้รับการประเมินอย่าง
รอบคอบและเหมาะสม โดยแพทย์ผู้ชำนาญ
 
-  การผ่าตัดบริเวณเพดานอ่อน ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดๆ เช่น การผ่า
ตัดโดยใช้มีด การผ่าตัดพับลิ้นไก่ การผ่าตัดเพดานอ่อนด้วย
เลเซอร์ การใส่พิลล่าร์หรือไหมบริเวณเพดานอ่อน มักจะทำให้
เสียงกรนน้อยลงอย่างมาก เนื่องจากเสียงกรนที่เกิดจากเพดาน
อ่อนมักมีเสียงดังมาก แต่เสียงกรนที่เบาลง
ไม่ได้หมายความว่า มีอันตรายหรือภาวะหยุดหายใจน้อยลงเลย

-  การผ่าตัดแก้ไข แพทย์ต้องตรวจเพื่อประเมินตำแหน่งของ
ทางเดินหายใจที่มีปัญหาทำให้เกิดการอุดตันและมีภาวะหยุด
หายใจขณะนอนหลับ ในคนไทย พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งมีปัญหา
บริเวณโคนลิ้น อีกครึ่งหนึ่งมีปัญหาที่บริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่
ต่อมทอนซิล หรือจมูก

- ถ้าบังเอิญท่านเป็นคนนึง ที่มีปัญหานอนกรนจากปัญหา 
บริเวณโคนลิ้น เช่น มีคางเล็กสั้นมาก หรือเป็นคนอ้วนมาก ถ้า
ถูกผ่าตัดบริเวณเพดานอ่อนไป ท่านหรือภรรยาอาจรู้สึกว่า ดี
ขึ้น เพราะกรนน้อยลง กรณีนี้เปรียบเสมือนท่านได้ถูกตัด
สัญญาณเตือนภัย ที่บอกว่า ท่านมีปัญหาการหายใจขณะนอน
หลับ การผ่าตัดเพียงให้มีเสียงกรนเบาลงแต่ยังมีการหยุด
หายใจเหมือนเดิมหรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อย กลับเป็นผลร้ายต่อผู้
ป่วย เพราะนึกว่าตัวเองหายแล้ว ทั้งที่ยังมีอันตรายอยู่
มีข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งคือ ภายหลังการผ่าตัด เช่น ผ่าตัด
เพดานอ่อนด้วยวิธีใดๆ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่ไม่ถาวร เช่น
หลับได้ดีขึ้น กรนน้อยลง ไม่ง่วงเวลากลางวัน ตรวจการนอน
หลับก็พบว่าดีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป อาการต่างๆ ที่ดูเหมือนดีขึ้น
จะกลับค่อยๆ แย่ลง ตามลำดับ และเมื่อผ่านไปประมาณ 6
เดือน อาการต่างๆ จะคงที่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะได้
รับการตรวจการนอนหลับ เพื่อประเมินเปรียบเทียบกับก่อนผ่า
ตัด


ต้องการทราบ สถานที่ ที่มีค่าใช้จ่าย
ในการรักษาโรคนอนกรน 
น้อยที่สุดและปลอดภัย


 

โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์
เช่น จุฬาฯ ศิริราช ฯลฯ
เป็นโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานการรักษา ถ้าไปในเวลาราชการ
ค่าใช้จ่ายคงไม่มากนัก และสามารถเบิกราชการได้เกือบทั้ง
หมด ถ้ามีสิทธิประกันสังคมหรือสิทธิ 30 บาท ท่านควรไปพบ
แพทย์ที่โรงพยาบาลต้นสังกัดก่อน ถ้าจำเป็นคุณหมอที่โรง
พยาบาลนั้นๆ คงจะส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาลในเครือข่าย
ที่สามารถให้การดูแลรักษาได้

สามารถรับการตรวจได้ในวัน
เวลาใดบ้าง

 

ถ้าต้องการพบแพทย์ กรุณามาพบ 

รศ.นพ.ประกอบเกียรติ หิรัญวิวัฒน์กุล

ที่คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก
(ตึก ภ.ป.ร.)โรงพยาบาลจุฬาฯ (โทร. 02-2565223)

-   คลินิกในเวลาราชการ 
    วันจันทร์ (8:00 – 12:00)
    วันพุธ (13:00 – 15:00)

     ท่านต้องมาด้วยตนเอง ไม่สามารถโทรนัดได้

-   คลินิกนอกเวลาราชการ 
    วันพุธ (16:00 – 20:00)
    วันเสาร์ (8:00 – 12:00)  

     ท่านสามารถโทรนัดพบแพทย์ในคลินิกนอกเวลา  
     ได้ที่หมายเลข   
                      02-2565193-4  
                      02-2565166  
                      02-2565175



ต้องการและรักษาโรคนอนกรนจะต้องเริ่มต้นอย่างไร?

 

o   การรักษานอนกรนชนิดไม่อันตราย
ปรับพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก นอนตะแคง งดดื่มเหล้า เบียร์
หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่กินยาที่ทำให้ง่วงซึม
เช่น ยาแก้แพ้ที่มีฤทธิ์ง่วง ยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาท
และควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
และรู้จักสุขนิสัยในการนอนหลับที่ถูกต้อง
- การผ่าตัดที่ไม่มาก เช่น จี้ด้วยคลื่นวิทยุ ผ่าตัดด้วยเลเซอร์
การใส่พิลล่าร์ รวมทั้งการผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน
- การใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรม ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ลิ้นตกไป
ด้านหลังขณะนอนหลับ

o   การรักษานอนกรนชนิดอันตราย
- ปรับพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก นอนตะแคง งดดื่มเหล้า เบียร์
หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่กินยาที่ทำให้ง่วงซึม
เช่น ยาแก้แพ้ที่มีฤทธิ์ง่วง ยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาท
และควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
และรู้จักสุขนิสัยในการนอนหลับที่ถูกต้อง
- การใช้เครื่องช่วยหายใจ (Continuous Positive Airway
Pressure หรือ CPAP)
เป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด
และไม่ต้องเจ็บตัว แต่ต้องใช้ทุกคืน ตลอดชีวิต อาจทำให้ไม่
สะดวกนักในการใช้ แต่เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับแรก
ก่อนการรักษาวิธีผ่าตัด
- การใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรม ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ลิ้นตกไป
ด้านหลังขณะนอนหลับ สำหรับกรณีที่เป็น
อันตรายขั้นไม่รุนแรง
- การผ่าตัดที่มากขึ้น เช่น จี้ด้วยคลื่นวิทยุ ผ่าตัดแก้ไขผนังกั้น
จมูกคด  ผ่าตัดต่อมทอนซิล และ/หรือ ต่อมอะดินอยด์  ผ่าตัด
ตกแต่งเพดานอ่อน ผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกร

-  ข้อสำคัญที่ควรรู้ก่อนการผ่าตัด คือ
 
·        การผ่าตัดที่ไม่เหมาะสม อันได้แก่
o   รีบร้อนตัดสินใจรับการผ่าตัด  
o   การผ่าตัดโดยไม่ตรวจประเมินอย่างรอบคอบ
o   ไม่ได้มีโอกาสได้ลองใช้เครื่อง CPAP ก่อน
o   ผ่าตัดโดยแพทย์ไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าผลที่คาดว่าจะได้
รับมีแค่ไหน หายหรือไม่ และอาจมีอันตรายอะไรได้บ้าง แค่ไหน
 
.        การผ่าตัดอาจไม่สามารถรักษาผู้ป่วยที่คางสั้นมาก อ้วนมาก
 
.        ท่านอาจจะเป็นคนหนึ่งที่ต้อง เสียใจว่าผ่าตัดไปแล้ว เจ็บ
ตัว เสียเงินทองด้วย และยังคงไม่หาย
 
·        หลังผ่าตัด ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นมาก เช่น นอนแล้วตื่นมาสดชื่น
ไม่ง่วงกลางวัน คนใกล้ชิดบอกว่ากรนน้อยลงมาก ไม่หยุด
หายใจอีก อาการที่ดีขึ้นนี้อาจเป็นเพียงชั่วคราว ไม่กี่เดือนก็
กลับแย่ลงอีก เช่น ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น ปวดหัว ง่วงเหงาหาว
นอน หลับง่าย แต่หลับไม่สนิท เสียงกรนอาจดังขึ้นอีก

·        เสียงกรนดัง-เบา ไม่ได้บอกว่า ผู้ป่วยมีอาการมาก-น้อย
เสียงกรนที่เกิดจากการสั่นสะเทือนบริเวณเพดานอ่อนหรือลิ้น
ไก่ มักมีเสียงดังมาก เมื่อเทียบกับ เสียงกรนที่เกิดจากการตีบ
แคบบริเวณโคนลิ้น ซึ่งเสียงกรนมักไม่ดัง คล้ายเสียงหายใจ
แรงๆ ดังนั้น การสังเกตว่า มีลักษณะหยุดหายใจ หรือสำลัก
น้ำลายตอนนอนหลับบ่อยๆ ง่วงนอนตอนกลางวัน ทั้งที่ไม่ได้
นอนดึก อาจเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดอาจใช้พิจารณาว่า
โรคนอนกรนชนิดอันตรายหายแล้วหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม วิธี
การที่ดีที่สุด คือ การตรวจการนอนหลับ ในช่วงหลังผ่าตัด
ประมาณไม่น้อยกว่า 6 เดือน จะให้คำตอบ ว่าท่านปลอดภัย
หายจากโรคนอนกรนชนิดอันตราย จริงหรือไม่


ขอทราบ รายละเอียด ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นสามารถ เบิกค่ารักษา
ได้รึเปล่าสามารถใช้ ประกันสังคม ได้หรือไม่

 

ค่าใช้จ่ายสำหรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคนอนกรน 
(ประกันสังคม หรือสิทธิ 30 บาท ต้องมีใบส่งตัวจากโรง 
พยาบาลต้นสังกัดเท่านั้น)
 
- การตรวจเอ็กซเรย์ทางเดินหายใจส่วนบน = 100 บาท (เบิก 
ราชการได้)
 
- การตรวจด้วยกล้องส่องตรวจ = 1000 บาท (เบิกราชการได้)
 
- การตรวจการนอนหลับ = 9000 บาท (เบิกราชการได้)
 
- การผ่าตัด (โดยประมาณคร่าวๆ)
.  จี้ด้วยคลื่นวิทยุ = 1500 - 8000 บาท (เบิกราชการได้บางส่วน)
.  ผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นจมูกคด  = 3000 - 30000 บาท (เบิก 
ราชการได้บางส่วน)
.  ผ่าตัดต่อมทอนซิล และ/หรือ ต่อมอะดินอยด์ = 5000 - 30000 
บาท (เบิกราชการได้บางส่วน)
.  ผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน = 5000 - 30000 บาท (เบิกราชการ 
ได้บางส่วน)
.  ผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกร = 20000 - 60000 บาท (เบิก 
ราชการได้บางส่วน)
.  การใส่พิลล่าร์ = 30000 - 40000 บาท (เบิกราชการไม่ได้)
 
- เครื่องช่วยหายใจ (Continuous Positive Airway Pressure 
หรือ CPAP) = 30000 - 80000 บาท (เบิกราชการได้ 20000 
บาท)

ในกรณีผ่าตัด อยากทราบ ระยะเวลาใน การรักษา

 

ระยะเวลาที่ต้องใช้ระหว่างการผ่าตัดรักษา

จี้ด้วยคลื่นวิทยุ = ไม่ต้องพัก โดยมากสามารถทำงานได้เกือบ
ปกติ
ผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นจมูกคด  = พักหรือไม่พักในโรงพยาบาล
โดยมากสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 5-7 วัน
ผ่าตัดต่อมทอนซิล และ/หรือ ต่อมอะดินอยด์  = พักในโรง
พยาบาลประมาณ 1-2 วัน โดยมากสามารถกลับไปทำงานได้
ภายใน 3-7 วัน
ผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน = พักในโรงพยาบาลประมาณ 1-2
วัน โดยมากสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 5-7 วัน
ผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกร = พักในโรงพยาบาลประมาณ 2- 4 วัน โดยมากสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 7-14 วัน 

อายุ 5 ขวบ
นอนกรนดัง
เป็นอันตราย
หรือไม่
และมีวิธีรักษา
อย่างไร

 

การรักษานอนกรนในเด็ก ความจริงข้อแรกที่ควรรู้คือ นอนกรน
เป็นสิ่งผิดปกติ
แสดงถึงว่ามีช่องทางเดินหายใจแคบ ทำให้
เกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อ ส่วนที่แคบนั้นๆ การนอนกรน
ในเด็กมักเกี่ยวข้องกับการคัดจมูก จากโรคภูมิแพ้ เยื่อบุจมูก
หรือไซนัสอักเสบ
ต้องนอนอ้าปากหายใจ ถ้าอาการทางจมูกดี
ขึ้น เด็กมักกรนน้อยลงได้บ้าง แต่ เด็กบางคน มีต่อมทอนซิล
และ/หรือ ต่อมอะดินอยด์  โตมากกว่าปกติ
ทำให้นอนกรน
หายใจแรง บางครั้งหายใจจนหน้าอกบุ๋ม ไม่สามารถนอนหงาย
ได้ เด็กมักนอนดิ้นไปมา และจะนอนได้นานในท่าตะแคงหรือ
นอนคว่ำ
เด็กบางคนอาจมีปัสสาวะราดรดที่นอน
o   ถ้าปล่อยให้ลูกหลานของท่านเป็นเช่นนี้ไป นานๆ จะมีผล
เสียหลายประการ
กล่าวคือ
-  ในขณะนอนหลับ ร่างกายและสมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่
และเด็กจะนอนหลับไม่สนิท ทำให้ฮอร์โมนที่ช่วยการเจริญเติบ
โตหลั่งออกมาน้อย ส่งผลให้เด็กไม่โต ไม่สูงเท่าที่ควรจะเป็น

ง่วงนอนกว่าปกติ แต่โดยทั่วไปเด็กที่ง่วงนอน มักจะไม่แสดง
อาการง่วงเหงาหาวนอน แต่จะมีลักษณะของการขาดสมาธิ
หรือที่เรียกว่าสมาธิสั้น
แต่ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่เอื้ออำนวยให้
นอนได้สะดวก เช่น นั่งรถนานๆ เด็กมักจะหลับ
-  เด็กที่นอนอ้าปากเวลานอนเป็นระยะเวลานาน ทำให้กระดูก
เพดานปากเจริญผิดปกติ โดยกระดูกจะโก่งสูง (High arch
palate) ฟันเกมากหรือฟันหน้ายื่น
และกระดูกขากรรไกรบน
แคบกว่าปกติ เป็นผลให้ช่องจมูกแคบ ซึ่งเมื่อผ่านระยะที่กระดูก
หยุดการเจริญเติบโตแล้ว จะไม่สามารถกลับคืนมาสู่สภาพปกติ
ได้

การผ่าตัด
ต่อมทอนซิล
มีขัอดี-ข้อเสีย
อย่างไร
จริงหรือไม่
กับความเชื่อที่ว่าไม่มี
ต่อมทอนซิล
แล้วจะไม่มีตัว
กรองเชื้อโรค ทำให้ไม่สบายได้ง่าย

 
แม้ว่าต่อมทอนซิลแตะต่อมอะดินอยด์ จะเป็นส่วนหนึ่งของ
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่จากการศึกษาวิจัย พบว่าระดับ
ภูมิคุ้มกันไม่ได้ลดลง ในผู้ป่วยที่ถูกตัดต่อมทอนซิลออก อัตรา
การเกิดโรคติดเชื้อต่างๆ ไม่แตกต่างจากคนปกติ ทั้งนี้เพราะยัง
มีระบบภูมิคุ้มกันอีกมากมาย  การศึกษาในปัจจุบันพบว่า หน้าที่
ในการป้องกันการติดเชื้อของต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์
ลดลงภายหลังเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป และยังพบว่าความสามารถ
ของการกำจัดเชื้อโดยเม็ดเลือดขาวในการเก็บกินเชื้อโรคเพิ่ม
ขึ้น ภายหลังการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์ ในผู้
ป่วยที่มีต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์อักเสบชนิดเรื้อรัง
แพทย์จึงมักแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดินอยด์
อักเสบเรื้อรังและมีขนาดโต จนทำให้เกิดอาการนอนกรนหรือ
หยุดหายใจ รับการผ่าตัดเอาต่อมออก
ส่วนผลการรักษามักเห็น
ชัดเจนตั้งแต่ในวันแรกหลังผ่าตัด โดยผู้ป่วยจะกรนน้อยลงหรือ
หายกรนไปเลย หลังผ่าตัดต่อมทอนซิล ผู้ป่วยจะมีอาการ เจ็บ
คอ กลืนเจ็บ ต้องรับประทานอาหารอ่อน เป็นเวลาประมาณ 1
สัปดาห์ และควรหลีกเลี่ยงการไอ กระแอม ขากเสมหะ ไม่ใช้
เสียงมาก ส่วนหลังผ่าตัดต่อมอะดินอยด์ ผู้ป่วยมักเจ็บคอเพียง
เล็กน้อยเท่านั้น แต่อาจมีอาการแน่นจมูกได้บ้างในวันแรกหลัง
ผ่าตัด


แฟนบ่นว่ารำคาญเสียงกรนจะเป็นมากเวลาดื่มเหล้าอ่อนเพลียกินยานอนหลับ แม้กระทั่งยาแก้หวัดควรทำอย่างไร

 

เหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีอันตรายต่อผู้ป่วย

นอนกรน แพทย์แนะนำให้ลด ละ เลิก เพราะเหล้าหรือเครื่องดื่ม
ที่มีแอลกอฮอล์ จะทำให้กล้ามเนื้อของลิ้นและทางเดินหายใจ
ส่วนบนอ่อนแรงมาก เป็นผลให้มีกรนมากขึ้น และมีปัญหาหยุด
หายใจได้มากขึ้น
ที่สำคัญมากคือ จะหยุดหายใจนานขึ้นกว่า
เดิม เพราะฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะกดการทำงานของสมอง ใน
การตอบสนองต่อภาวะการขาดออกซิเจนในเลือด จนอาจทำ
ให้เกิดภาวะหัวใจวาย  หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ จนเสียชีวิตได้
ในขณะนอนหลับ
 
นอกจากเหล้าแล้ว ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาแก้หวัด
ชนิดทำให้ง่วง ยาแก้แพ้ชนิดทำให้ง่วง
 รวมทั้ง เวลาอ่อนเพลีย
หลังทำงานหรือออกกำลังกายหนัก ยังเป็นสาเหตุให้มีอาการ
นอนกรนมากขึ้นได้

มีปัญหาเรื่องนอนกรนมากตื่นขึ้นมายังง่วง อ่อนเพลีย ทำอย่างไรดี

 

ถ้าท่านมี  ปัญหานอนกรน ร่วมกับ อาการ ง่วงเหงาหาวนอนมาก
หรือตื่นเช้าแล้วรู้สึกไม่สดชื่น หรือคนใกล้ชิด สังเกตว่าท่าน มี
หยุดหายใจ มีจังหวะที่เหมือนหายใจไม่ออก ตามด้วย อาการ
เหมือนสำลัก
ท่าน อาจเป็นนอนกรนชนิดอันตรายหรือที่เรียกว่า
ภาวะหยุดหายใจจากทางเดินหายใจอุดตันขณะนอนหลับ คุณ
หมอแนะนำให้มาพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เพื่อให้การดูแล
รักษาอย่างถูกต้อง จะเป็นสิ่งที่ดีกว่าปล่อยไว้จนอาจเกิด
อันตราย



Sleep Group หน้าแรก | กระดานถาม-ตอบปัญหานอนกรน | สอบถาม... ปัญหานอนกรน | แนะนำทีมงานแพทย์ | พบแพทย์
 
    Web hosting | website builder |เว็บไซต์สำเร็จรูป by ninenic ©Copyright 2002-2019 All rights reserved.