www.sleepgroup.com
Sleep Group หน้าแรก กระดานถาม-ตอบปัญหานอนกรน สอบถาม... ปัญหานอนกรน แนะนำทีมงานแพทย์ พบแพทย์  
-A +A
 
 Search
 
Change Language

นอนหลับ......ช่วงเวลาสำคัญของชีวิตที่มักถูกลืม
 
         การนอนเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เป็นส่วนสำคัญของชีวิตที่มักจะถูกละเลย ไม่ได้รับความสนใจ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เด็กทารกจะใช้เวลาส่วนใหญ่ทั้งกลางวันและกลางคืนในการนอน ช่วงเวลาของการนอนจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และวัยชรา การนอนหลับช่วยให้ร่างกายและสมองได้พักผ่อนหลังจากการทำงานมาอย่างต่อเนื่องในช่วงกลางวัน ไม่เคยมีมนุษย์คนไหนสามารถอดนอนได้เกินกว่า 7 วัน เนื่องจากสมองของคนๆ นั้นจะไม่สามารถทนสภาพเหนื่อยล้าเช่นนั้นได้ มนุษย์เราใช้เวลาในการนอนประมาณ 3,000 ชั่วโมงใน 1 ปี ซึ่งเท่ากับประมาณ 1/3 ของชีวิต ดังนั้นหากการนอนหลับไม่เพียงพอหรือมีปัญหา จะทำให้เกิดผลเสียต่างๆ ตามมาได้
 


        
คนเราส่วนมากต้องการนอนหลับประมาณวันละ 7-8 ชั่วโมง 

         เราอาจสังเกตได้ด้วยตัวเองว่า นอนหลับได้ เพียงพอหรือไม่ โดยอาศัยความรู้สึกของตัวเองเมื่อตื่นนอนเช้าถ้าตื่นนอนเช้าด้วยความรู้สึกสดชื่นแจ่มใสพร้อมที่จะทำงานต่างๆ อย่างเต็มที่ แสดงว่าได้รับการพักผ่อนนอนหลับมาอย่างเพียงพอ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีความรู้สึกปวดหัวทุกวันหลังตื่นนอน หรือยังง่วงนอนอยู่ ถึงแม้ว่าได้นอนมาแล้วหลายชั่วโมง แสดงว่านอนไม่พอหรือการหลับนั้นขาดคุณภาพ


         
         ลักษณะการนอนที่ปกติ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงหลับธรรมดา (Non-Rapid Eye Movement sleep หรือ NREM sleep) และช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement sleep หรือ REM sleep) แต่ละช่วงจะประกอบไปด้วยลักษณะการเปลี่ยนแปลงในคลื่นสมอง การเคลื่อนไหวของลูกตา และ muscle tone โดย NREM sleep แบ่งเป็นระยะที่ N1 - N3



ช่วงหลับธรรมดา (Non-Rapid Eye Movement sleep หรือ NREM sleep)


                ระยะที่ 1 (stage N1)
เป็นช่วงที่เปลี่ยนจากการตื่นไปสู่การนอนหลับ การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG หรือ
electroencephalography) ระยะนี้จะพบ คลื่น alpha

                ระยะที่ 2 (stage N2) เป็นระยะแรกที่มีการหลับอย่างแท้จริง แต่ยังไม่มีการฝัน ในระยะนี้ ผู้ที่หลับจะสามารถถูกปลุกให้ตื่นได้โดยง่าย การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองในระยะนี้จะพบ spindle และ K complex

                ระยะที่ 3 (stage N3) บางครั้งอาจเรียกรวมกันว่าช่วงหลับลึก (Deep sleep) ก็ได้ เพราะว่ามีลักษณะคลื่นสมองคล้ายๆ กันเรียก Slow-wave sleep หรือ Delta stage ระยะนี้อุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิตจะลดลง อัตราการเต้นของหัวใจลดลงเหลือประมาณ 60 ครั้งต่อนาที Growth hormone จะมีการหลั่งในระยะนี้  ช่วงหลับลึกนี้ คนเราต้องมีให้เพียงพอเพื่อทำให้รู้สึกสดชื่นแจ่มใสเมื่อตื่นนอน เปรียบเสมือนการชาร์ตแบตเตอรีโทรศัพท์มือถือ ถ้าให้เวลาชาร์ตพอ กำลังของแบตเตอรีก้อนนั้นจะแรงพอ ที่เราสามารถใช้ไปได้นานเป็นวัน แต่ถ้าให้เวลาชาร์ตไม่นานพอ โทรศัพท์มือถือของเราคงใช้ได้ไม่นานนัก แล้วยังทำให้แบตเตอรีเสื่อมง่ายอีกด้วย สมองคนเราก็คล้ายกัน จำเป็นต้องมีการกำจัด สารเคมีที่เป็นสารไม่พึงประสงค์ หรือเป็นของเสียที่เกิดจากการทำงานของสมองมาทั้งวัน โดยช่วงเวลาหลับลึก ร่างกายจะค่อยๆ กำจัดสาร ดังกล่าว ให้หมดไป ทำให้สมองเราสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ



ช่วงหลับฝัน (REM sleep)
   

                ระยะนี้จะมีความฝันเกิดขึ้น เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เช่น มีการเปลี่ยนแปลงของจังหวะและอัตราการหายใจ มีการลดลงของ muscle tone มีการเปลี่ยนแปลงของจังหวะการเต้นหัวใจ และมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย  
                ช่วงหลับฝัน เป็นช่วงเวลาที่สมองมีการทำงานหนัก ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเวลาตื่น บางครั้งมีการทำงานมากกว่าตอนตื่นด้วยซ้ำไป สมองจะมีกระบวนการที่จะจัดการกับข้อมูลต่างๆ ที่เข้ามา แล้วทำการจัดระเบียบ ทำให้เกิดเป็นความทรงจำ ความ เข้าใจ และอื่นๆ ที่มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์เราในการดำเนินชีวิต 
                ถ้าใครมีช่วงเวลาหลับฝันน้อยเกินไป ซึ่งคนเราจะไม่สามารถจำได้ว่าเราฝันอะไร ไม่มากแค่ไหน แต่ถ้าพบว่ามีช่วงดังกล่าวน้อยไป จะมีผลกระทบต่อความทรงจำ หรือความเข้าใจ ดังนั้นนักเรียน นักศึกษา จึงไม่ควรดูหนังสือชนิดหามรุ่งหามค่ำจนนอนไม่เพียงพอ เพราะนั่นอาจเป็นผลเสียมากกว่า การนอนให้เพียงพอ



Sleep Group หน้าแรก | กระดานถาม-ตอบปัญหานอนกรน | สอบถาม... ปัญหานอนกรน | แนะนำทีมงานแพทย์ | พบแพทย์
 
    Web hosting | website builder |เว็บไซต์สำเร็จรูป by ninenic ©Copyright 2002-2019 All rights reserved.