www.sleepgroup.com
Sleep Group หน้าแรก กระดานถาม-ตอบปัญหานอนกรน สอบถาม... ปัญหานอนกรน แนะนำทีมงานแพทย์ พบแพทย์  
-A +A
 
 Search
 
Change Language

Treatment of Sleep-disordered Breathing
การรักษาการนอนหลับที่ผิดปกติในภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

  • งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาท หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา กาแฟ 
  • การควบคุมน้ำหนัก โดยการจำกัดปริมาณและชนิดอาหารออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อตื่นตัว และเป็นมาตรการในการลดน้ำหนัก 
  • นอนในท่าตะแคง หลีกเลี่ยงการนอนในท่านอนหงาย และควรนอนศีรษะสูงเล็กน้อย 
  • รีบปรึกษาแพทย์ เมื่อมีการหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์จะพิจารณาแนวทางรักษาจากความรุนแรง และสาเหตุของโรค
ในกรณีผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก ผู้ป่วยควรใส่เครื่อง Nasal CPAP (Nasal Continuous Positive Airway Pressure) เครื่องนี้จะปล่อยแรงดันบวก และจะทำให้ช่องทางเดินหายใจที่แคบกว้างขึ้น จึงทำ จึงทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกและหลับสบายขึ้น ในปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้ ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด
 
กรณีผู้ป่วยมีความผิดปกติชัดเจน บริเวณช่องทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ต่อมทอนซิลโตมาก หรือเพดานอ่อนยาวผิดปกติ หรือกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาในการใช้เครื่อง Nasal CPAP แพทย์อาจทำการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติดังกล่าวได้


เครื่องช่วยหายใจ (CPAP)

        การใช้เครื่องช่วยหายใจ (Nasal continuous positive airway pressure หรือ nasal CPAP) 

  • CPAP จะใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหา OSA ได้ผลค่อนข้างดี
         โดยผู้ป่วยจะต้องสวมหน้ากากที่ครอบบริเวณจมูกและรัดให้แน่นและเป่าลมเข้าไปในจมูก โดยให้ใช้ความดันอากาศประมาณ 4.5-10 เซ็นติเมตรน้ำ เพื่อช่วยถ่างขยายทางเดินหายใจช่วงบนในขณะหลับ ซึ่งจะช่วยลดการหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดตันลงได้ ทำให้การหยุดหายใจมีความรุนแรงลดลง
  • ปัญหาในการใช้ CPAP
         ได้แก่ จมูกอักเสบ แน่นจมูกในตอนเช้า ตาอักเสบ คอแห้ง จมูกแห้ง รู้สึกรำคาญที่ต้องใส่หน้ากากรู้สึกอึดอัดในทรวงอก นอนหลับยากเนื่องจากเครื่องมีเสียงดัง ทำให้ผู้ป่วยบางคนใช้เครื่อง CPAP เพียงน้อยชั่วโมงต่อคืน หรือเพียงน้อยวันต่อสัปดาห์ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถทนต่ออาการข้าง เคียงและเสียงได้ 
  • ในผู้ป่วย OSA ที่รุนแรงมาก จะใช้เครื่องที่มีลักษณะเป็น Bi-level (Bi-PAP)
         นั่นคือ เครื่องดังกล่าวจะเป่าอากาศเข้าไปโดยมีความดันใน 2 ลักษณะได้แก่ เมื่อผู้ป่วยหายใจเข้าแรงดันจะสูงและเมื่อผู้ป่วยหายใจออก แรงดันจะต่ำ 
พยาบาล แพทย์ ควรเป็นผู้อธิบายถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เครื่องดังกล่าวทั้ง CPAP และ Bi-PAP
 


Sleep Group หน้าแรก | กระดานถาม-ตอบปัญหานอนกรน | สอบถาม... ปัญหานอนกรน | แนะนำทีมงานแพทย์ | พบแพทย์
 
    Web hosting | website builder |เว็บไซต์สำเร็จรูป by ninenic ©Copyright 2002-2019 All rights reserved.