แม้ว่าต่อมทอนซิลแตะต่อมอะดินอยด์ จะเป็นส่วนหนึ่งของ
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่จากการศึกษาวิจัย พบว่าระดับ
ภูมิคุ้มกันไม่ได้ลดลง ในผู้ป่วยที่ถูกตัดต่อมทอนซิลออก อัตรา
การเกิดโรคติดเชื้อต่างๆ ไม่แตกต่างจากคนปกติ ทั้งนี้เพราะยัง
มีระบบภูมิคุ้มกันอีกมากมาย
การศึกษาในปัจจุบันพบว่า หน้าที่ในการป้องกันการติด
เชื้อของต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์ ลดลงภายหลังเด็ก
อายุ 3 ปีขึ้นไป และยังพบว่าความสามารถ ของการกำจัดเชื้อ
โดยเม็ดเลือดขาวในการเก็บกินเชื้อโรคเพิ่ม ขึ้น ภายหลังการ
ผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์ ในผู้ ป่วยที่มีต่อม
ทอนซิลและต่อมอะดินอยด์อักเสบชนิดเรื้อรัง แพทย์จึงมักแนะ
นำให้ผู้ป่วยที่มีต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดินอยด์ อักเสบเรื้อรัง
และมีขนาดโต จนทำให้เกิดอาการนอนกรนหรือ หยุดหายใจ
รับการผ่าตัดเอาต่อมออก
ส่วนผลการรักษามักเห็น ชัดเจนตั้งแต่ในวันแรกหลังผ่าตัด
โดยผู้ป่วยจะกรนน้อยลงหรือ หายกรนไปเลย หลังผ่าตัดต่อม
ทอนซิล ผู้ป่วยจะมีอาการ เจ็บ คอ กลืนเจ็บ ต้องรับประทาน
อาหารอ่อน เป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ และควรหลีกเลี่ยงการ
ไอ กระแอม ขากเสมหะ ไม่ใช้ เสียงมาก ส่วนหลังผ่าตัดต่อมอะ
ดินอยด์ ผู้ป่วยมักเจ็บคอเพียง เล็กน้อยเท่านั้น แต่อาจมีอาการ
แน่นจมูกได้บ้างในวันแรกหลังผ่าตัด |